ค่าวกับจ๊อย ต่างกันอย่างไร – เดอะจิ๊กุ่ง (มงคล ชัยวุฒิ)

Spread the love

ตอบปั๋ญหาเรื่องค่าวกับจ๊อย

ค่าวคือประเภทของบทกวีล้านนา เช่นเดียวกันกับกาพย์ และกะโลง เป๋นต้น ถ้าเอาไปอ่านธรรมดาบ่มีทำนอง ฮ้องว่า “ค่าวฮ่ำ” หรือ “ฮ่ำค่าว” ถ้าเอาไปขับขานเป๋นทำนอง ฮ้องว่า “เล่าค่าว” หรือ “ค่าวจ๊อย” หรือตี้ฮ้องกั๋นสั้นๆ ว่า “จ๊อย” เพราะจะอั้น จ๊อย จึงเป๋นเรื่องของก๋ารขับขาน เป๋นเพลงพื้นบ้านประเภทหนึ่งครับ มีหลายทำนอง เช่น ทำนอง ป๊าวไกว๋ใบ โก่งเฮียวบง นกเขาเหิน บ่านาวล่องของ ทำนองวิงวอน และ ทำนองจ๊อยเชียงแสน เป๋นต้น ซึ่งเป๋นก๋ารเอาบทกวีประเภทค่าวมาขับขานเป๋นทำนอง ถ้าขับขานธรรมดาบ่เร่งความเร็วก่อจะฮ้องว่าจ๊อยจังหวะแบบธรรมดา แต่ถ้าขับขานแบบเร็ว เพื่อรวบรัดเวลาในก๋ารขับขานหรือเล่าเรื่องหื้อตื่นเต้นเร้าใจ๋ ก่อจะมีจังหวะ “ม้าย่อง” หรือ บางเตื้อก่อฮ้องว่า “ม้าย่ำไฟ” ครับ ถ้าเป๋นค่าวกับจ๊อยทำนองตี้ว่ามาจะหันว่าเป๋นเหมือนเหรียญสองด้าน ถ้าอุปมาค่าวเหมือนเนื้อ ส่วนจ๊อยก่อจะเหมือนอาหารตี้แป๋งหรือปรุงมาจากเนื้อ ทำนองก่อเหมือนเครื่องปรุงตี้ทำหื้อเนื้อมีรสชาติแตกต่างกั๋นไป

จุดสังเกตตี้น่าจะเป๋นสาเหตุหื้อคนเข้าใจ๋ผิด เพราะเกยถามบางท่านแล้วได้ข้อมูลมาแบบสับสน สาเหตุอาจเนื่องมาจากค่าวจ๊อยทำนอง “นกเขาเหิน” เป๋นทำนองตี้สามารถเอามาเล่าค่าวได้ทั่วไป และนิยมเอามาเล่าค่าววรรณก๋รรมล้านนาในหลายๆ เรื่อง เมินๆ จะมีก๋ารจ๊อยในทำนองอื่น เช่น ทำนองวิงวอน เหมือนใน “จ๊อยพระคุณแม่” ของแม่ครูบัวซอนเมืองป๊าว บางท่านก่อเลยเข้าใจ๋ผิดว่า ก๋ารขับขานค่าวจ๊อยทำนองวิงวอนแบบของแม่ครูบัวซอน เป๋นก๋ารจ๊อย ส่วนก๋ารขับขานทำนองนกเขาเหินตี้ได้ยินในก๋ารขับขานเรื่องค่าวหงส์หิน เป๋นต้น แบบนั้นฮ้องว่า “ค่าว” บ่ไจ้ “จ๊อย”โดยเข้าใจ๋คลาดเคลื่อนไปว่า ตึง ค่าว และจ๊อย เป๋นก๋ารขับขานเหมือนกั๋น ซึ่งเป๋นก๋ารเข้าใจ๋ตี้สับสน ตี้ถูกต้องก่อคือ ตึงสองแบบนั้นเป๋นก๋ารเอาบทกวีประเภท “ค่าว” มาขับขานเป๋นเพลงพื้นบ้านตี้ฮ้องว่า “จ๊อย” เช่นเดียวกั๋น ต๋างกั๋นเพียงแค่ว่าเป๋นทำนองคนละทำนอง ค่าวจ๊อย หรือฮ้องสั้นๆ ว่าจ๊อย “ทำนองนกเขาเหิน” ไจ๊เล่าเรื่องทั่วๆ ไป ส่วน จ๊อยทำนองวิงวอน ไจ๊ขับขานต๋อนตี้ต้องก๋ารสื่ออารมณ์เศร้า ง่อมเหงา หรือซึ้ง เป๋นต้น

อย่างใดก่อต๋าม บางท่าน เช่นอาจ๋ารย์พระครูอดุลย์สีลกิจ วัดธาตุคำ เปิ้นบอกว่า มีจ๊อยแหมแบบฮ้องว่า “จ๊อยเชียงแสน” หรือ “จ๊อยทำนองเชียงแสน” ซึ่งเป๋นทำนองต่างจาก “จ๊อยทำนองเชียงใหม่” บางเตื้อสามารถเอาค่าวแบบเชียงใหม่มาจ๊อยแบบเจียงแสนได้เลย อันนี้เป๋นจ๊อยแบบเจียงแสนแบบตี้ 1 มีจ๊อยแบบเจียงแสนแหมแบบ ตี้บางเตื้อเหมือนจะมีปรับฉันทลักษณ์บางส่วนไปแหมแบบต๋ามแบบเชียงแสน ก๋ารจ๊อยแบบนี้ฮ้องกั๋นแหมแบบว่า “จ๊อยตีข้าว” จะต่างจากก๋ารเอาค่าวมาขับขาน เพราะมีฉันทลักษณ์หรือก๋ารสัมผัสคำต่างกั๋นกับค่าวแบบเชียงใหม่ และทำนองก่อจะมีเอกลักษณ์ไปแหมแบบ บางท่านก่อบอกว่า จ๊อยทำนองแบบนี้ตางจ๋อมตอง ดอยเต่าก่อมี เปิ้นฮ้องว่า “จ๊อยสายใต้” ของเมืองเชียงใหม่ ตั้งแต่สันป่าตอง จอมทอง ไปฮอด ถึงดอยเต่า อมก๋อย เป๋นต้น ดูเหมือนว่าจะฮับสืบทอดมาจากเมืองเชียงแสน แต่มาต๋อนหลังนิยมฮ้องว่า “จ๊อยสายใต่” มากกว่า “จ๊อยเชียงแสน” ส่วนมากนิยมจ๊อยกั๋นต๋อนตี๋ข้าวเป๋นหลัก นิยมจ๊อยเนื้อหาสั้นๆ โต้ตอบกั๋น บ่นิยมจ๊อยเป๋นเรื่องยาวๆ

ถ้าถามต่อว่า ค่าวกับซอต่างกั๋นอย่างใด ก่อคงต้องอธิบายว่า ซอก่อแบ่งเป๋นสองส่วนเหมือนกั๋น ก่อคือ มี “บทซอ” หรือ “กำซอ” (คำซอ) ซึ่งเป๋นข้อความตี้เรียบเรียงขึ้นมาต๋ามฉันทลักษณ์ของซอ ตี้มีเอกลักษณ์เฉพาะของซอ บ่เหมือนค่าว และมี “ทำนองซอ” ซึ่งเป๋นเรื่องของก๋ารขับขานแบบล้านนาแหมรูปแบบหนึ่ตี้มีหลายทำนองเหมือนกั๋น เช่น ทำนองตั้งเชียงใหม่ ละม้าย จะปุ ล่องน่าน อื่อ พม่า ปั่นฝ้าย และซอเงี้ยว เป๋นต้น ซึ่งเรื่องนี้ต้องสอบถามช่างซอโดยตรง ก๋ารถ่ายทอดซอออกมาในรูปแบบของก๋ารขับขาน ฮ้องสั้นๆ ว่า ก๋าร “ซอ” หรือ ฮ้องหื้อเป๋นทางก๋ารหน่อยว่า ก๋าร “ขับซอ” ส่วนคนตี้ซอ ฮ้องว่า “ช่างซอ” ตรงนี้มีจุดสังเกตอย่างหนึ่งก่อคือ เฮามีคำว่า “ช่างซอ” แต่ บ่ค่อยได้ยินคำว่า “ช่างค่าว” เกยได้ยินแต่คำว่า “นักค่าว” ซึ่งในอดีตได้ยินว่า เกยมี “ช่างขับจ๊อย” รับจ้างจ๊อยต๋ามงานต่างๆ ลักษณะเดียวกั๋นกับช่างซอ เข้าใจ๋ว่าบางคนหรือหลายคน ถนัดตึงจ๊อยตึงซอ และตะก่อนถือว่าเป๋นอาชีพหนึ่งตี้สร้างความบันเทิงหื้อกับชุมชน ในสมัยตี้เพลงสมัยใหม่ยังบ่มีเตื้อ

ส่วนกำว่า “จ๊อย” และ “ซอ” ต่างกั๋นอย่างใด อย่างตี้อธิบายไปก่อนหน้าแล้วว่า “จ๊อย” หรือ ฮ้องแหมแบบว่า “ค่าวจ๊อย” เป๋นก๋ารนำเสนอบทค่าวออกมาเป๋นทำนองต่างๆ บางท่านก่อเลยสงสัยว่า แล้วเป๋นจะไดบ่ฮ้องว่าเป๋น “ซอ” ทั้งๆ ตี้ก่อเป๋นก๋ารขับขานแบบปื๊นบ้านเหมือนกั๋น ความแตกต่างของเรื่องนี้ส่วนหนึ่ง ก่อคือข้อความและฉันทลักษณ์ตี้เอามาขับขาน ถ้าเป๋นก๋ารเอาบทกวีประเภทค่าวมาขับขาน จะฮ้องว่า “ค่าวจ๊อย” หรือ “จ๊อย” จะบ่ฮ้องว่า “ซอ” แต่บางเตื้อก่อมีเรื่องหื้อเข้าใจ๋สับสนว่า จะฮ้องว่าเป๋นซอก่อได้ เช่น กรณีตี้หันในหนังสือของร้านประเทืองวิทยา มีก๋ารตั้งชื่อหนังสือว่า “ค่าวซอเรื่องธรรมหงส์หิน” เป๋นต้น ก่อเลยมีแหมกำหนึ่งเข้ามาคือกำว่า “ค่าวซอ” เลยทำหื้อสับสันกั๋นไปแหมว่า ก๋ารจ๊อยก่อน่าจะถือว่าเป๋นก๋ารซอประเภทหนึ่งได้ เพราะค่าวหงส์หินเปิ้นยังฮ้องว่า ค่าวซอ หรือจะอธิบายในแง่ตี้ว่า เหตุผลตี้เปิ้นไจ๊คำว่า “ค่าวซอ” อาจจะเป๋นเพราะก๋ารอู้ติดปาก เวลาตี้เฮาต้องก๋ารอนุรักษ์ภาษาและศิลปะวัฒนธรรมแบบล้านนา ก่อมักจะอู้ต่อกั๋นไปจ๋นเกยชิน เช่น “เสียงซึงสะล้อ ค่าวซอนั้นหนา ของดีล้านนา เมินมาแต๊ไบ้ ขอหื้อลูกหลาน วงศ์วานไกล๋ใกล้ จ้วยสืบกั๋นไป อย่าละ” คำว่า ค่าวซอในตี้นี้บ่ไจ้กำกำเดียว แต่เป๋นกำสองกำ คือ กำว่า ค่าว กับ ซอ ซึ่งถือว่าเป๋นคนละอย่าง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *